วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในองค์กร




การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับงานในองค์กร

    การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบงานในองค์กรและงานด้านบริหารในโลกยุคใหม่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง จึงทำให้การค้าและการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรต่างๆเริ่มพยายามเปลี่ยนแปลงให้มีความก้าวทันเข้าสู่ยุคของการค้ารูปแบบใหม่ โดยผ่านเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเพิ่มช่องทางการบริการให้ไปสู่กลุ่มลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ และเป็นการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า คำว่า "อีคอมเมิร์ซ"จัดเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้องค์กร ได้เปรียบคู่แข่งขันได้


ประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม

          เทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมในปัจจุบันก้าวไกลไปมาก มีบริการมากมายที่ทันสมัยและตอบรับการนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ  ตัวอย่างการใช้โทรศัพท์ในปัจจุบันก็มิได้มีไว้เพียงสำหรับคุยสนทนาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มันสามารถช่วยงานได้มากขึ้น โดยอ้างอิงจากข้อมูลและการเปิดให้บริการของบริษัท มีการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งภาพและเสียง มีโทรศัพท์มือถือรุ่นต่างๆออกมามากมาย พัฒนาทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน 
เช่น เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นผู้วางแผนการก่อสร้างและติดตั้งขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 25 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการในปัจจุบัน

ประยุกต์ใช้ในสำนักงานภาครัฐและเอกชน
          ปัจจุบันไดมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆมากมาย เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน การเกิด การตาย การเสียภาษีอากร การทำใบอนุญาตขับรถยนต์ การจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ กระประมวลผลคะแนนเลือกตั้ง ฯลฯ เป็นต้น งานเหล่านี้ได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อนทำให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว และยังตอบสนองกับการบริหารยุคใหม่ที่ต้องใช้ข้อมูลเป็นหลักในการบริหารจัดการ


การพัฒนาองค์กรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
          องค์กรต่างๆ มีวัตถุประสงค์ที่จะบรรลุผลสำเร็จและก่อให้เกิดความได้เปรียบที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยการนำเอาเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่น การควบคุมสิทธิของการใช้งานให้ผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวสามารถทำงานร่วมกันได้ การที่มีข่าวสารหรือสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องมีคลังในการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นที่เป็นระบบ จึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการกับเอกสาร ระบบการจัดการที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร การใช้โปรแกรมเชิงวัตถุ (
object - oriented programming) ในการสร้างเว็บไซด์เพื่อการทำธุรกรรมทางการค้า เนื่องจากมีการผลิตเทคโนโลยีที่สามารถพกพาไปไหนได้อย่างสะดวก เช่น PDA , LAPTOP เป็นต้น ทำให้ง่ายสำหรับการทำงาน

ประสิทธิภาพของการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร

         เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสนับสนุนการทำงานด้านต่าง ๆ ขององค์กรในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในแต่ละระดับขององค์กรจะมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อประโยชน์ที่แตกต่างกัน เช่น ฝ่ายตลาดจะมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการกำหนดกลุ่มลูกค้าช่วยพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า สนับสนุนการขายสินค้าและบริการ และการให้บริการแก่ลูกค้า ส่วนฝ่ายผลิตมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการวางแผน การพัฒนา และการผลิตสินค้าและบริการ และควบคุมการไหลเวียนของกระบวนการผลิตสำหรับฝ่ายบัญชีและการเงินมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อติดตามการเก็บรักษาและใช้งานทรัพย์สินขององค์กร และกระบวนการไหลเวียนของระบบเงินทุน



อ้างอิงจาก:http://61.19.202.164/resource/elearning/w31101/content/Images/p08-02.JPG


เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ในองค์กร

         N
etworked Computing
 คือการเอาระบบสารสนเทศไปติดตั้งหรือโฮสต์บนอินเทอร์เน็ต โดยมีองค์กรที่สาม เป็นผู้จัดเตรียมทรัพยากรคอมพิวเตอร์และดูแลระบบสารสนเทศของลูกค้าที่ได้นำ มาติดตั้งซึ่งจะเชื่อมแต่ละเครื่องเข้าด้วยกันเหมือนสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เสมือน ทำให้ทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะมีการแบ่งงานกันทำงาน จะมี network เป็นตัวกลางของแต่ละเครื่องช่วยในการประมวลผล วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ ซึ่งจะประกอบไปด้วย


1.ความต้องการ (Requirement) คือ ความต้องการของผู้ใช้ระบบ
2.ทรัพยากร (Resource) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ประมวลผลข้อมูล เช่น RAM , Harddisk , 
   CPU เป็นต้น
3.บริการ (Service)


อีคอมเมิร์ซ
(E-Commerce) คืออะไร

คือ...การดำเนินธุรกิจซื้อขายโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ จะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ E-Business หมายถึง การทำกิจกรรมทุกๆอย่างทุกขั้นตอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และมีขอบเขตที่กว้างกว่าอีคอมเมิร์ซที่เป็นการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้า และค้นหาข้อมูลหรือทำงานร่วมกันได้
          
อีคอมเมิร์ซ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน การที่จะตัดสินใจลงทุนในธุรกิจประเภทนี้ จะต้องวางแผนให้รัดกุม เพราะในปัจจุบันมีคู่แข่งขันเข้ามาในธุรกิจมาก เพราะนักลงทุนสามารถเปิดธุรกิจได้ง่ายและกำลังอยู่ในความสนใจของคนรุ่นใหม่ ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
         
    ปัจจุบันระบบอินเตอร์เน็ตเป็นที่นิยมแพร่หลาย แนวคิดในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อการค้าระหว่างคอมพิวเตอร์ของแต่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงนั้นก็เกิดขึ้น โดยแทนที่ระบบ EDI ซึ่งเป็นระบบของธุรกิจขนาดใหญ่ แต่กลายเป็นระบบการซื้อขายในระดับของผู้บริโภคทั่วๆไปโดยตรง และใครมีคอมพิวเตอร์ก็สามารถติดต่อทางระบบอินเตอร์ได้ก็สามารถเข้าร่วมกันกระบวนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที
การค้าทางระบบอิเล็กทรอนิกส์บนอินเตอร์เน็ตสามารถทำได้ง่ายกว่า เพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน จะมีโปรแกรมสำหรับเรียกดูข้อมูล เช่น โปรแกรม Internet Explorer สามารถทำงานได้ค่อนข้างหลากหลาย และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันมี Web Browser ใหม่ออกมาให้สามารถเลือกใช้งานได้มากมาย



   
ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซ
 (E-Commerce)  

  ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อบุคคล มีดังนี้
      1.มีสินค้าและบริการราคาถูกจำหน่าย
                  2.ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น
                  3.สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง
                  4.ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ในเวลาที่รวดเร็ว
                  5.ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าตรงตามความต้องการมากที่สุด
                  6.สนับสุนนการประมูลเสมือนจริง

ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อองค์กรธุรกิจ มีดังนี้
    1.ขยายตลาดในระดับประเทศและระดับโลก
                2.ทำให้บริการลูกค้าได้จำนวนมากทั่วโลกด้วยต้นทุนที่ต่ำ
                
3.ลดปริมาณเอกสารเกี่ยวกับการสร้าง การประมวลได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์
                4.ลดต้นทุนการสื่อโทรคมนาคม เพราะอินเตอร์เน็ตราคาถูกกว่าโทรศัพท์           
                5.ช่วยให้บริษัทขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้

ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อสังคม มีดังนี้
     1.สามารถทำงานที่บ้านได้ ทำให้มีการเดินทางน้อยลง การจราจรไม่ติดขัด
                 2.การซื้อสินค้าราคาถูกลง คนที่มีฐานะไม่รวยก็สามารถยกระดับมาตรฐาน   
         การขายสินค้าและบริการได้

ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ มีดังนี้
      1.กิจการ SME ในประเทศกำลังพัฒนาอาจได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดที่กว้าง
         ขวางในระดับโลก
      2.ทำให้กิจการประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆได้
                  3.บทบาทของพ่อค้าคนกลางลดลง

 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ
การนำอีคอมเมิร์ซ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ จำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยี เพื่อใช้เป็นแรงขับเคลื่อนธุรกิจให้สามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้โดยแบ่งองค์ประกอบหลักได้ 5 ส่วน ดังนี้

1.การบริการทั่วไป เป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกและรวดเร็วให้กับลูกค้า
    และสมาชิกที่สั่งซื้อสินค้าและบริการ
2.ช่องทางการติดต่อสื่อสาร เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสาร เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง
    ผู้ใช้  บริการกับผู้ใช้บริการผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคมได้แก่ EDI,E-mail
            3.รูปแบบของเนื้อหา เป็นการจัดรูปแบบของเนื้อหาเพื่อการนำเสนอสินค้าหรือบริการ
    ในรูปแบบสื่อประสม ซึ่งผสมผสานระหว่างข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว 
   และเสียงเข้าด้วยกันแล้วส่งผ่านเว็บ
            4.ระบบเครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน
    โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้
           5.ส่วนประสานผู้ใช้ เป็นส่วนที่ใช้ในการติดต่อระหว่างผู้ใช้บริการผ่าน

      โปรแกรม Web Browser   

ตัวอย่างองค์กรที่ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการองค์กร ได้แก่
บริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด


บริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด (PTTRM ) ซึ่งเป็นผู้บริหารร้านค้าสะดวกซื้อภายใต้แบนด์ Jiffy ซึ่งตั้งอยู่ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท PTT ทั่วประเทศ ได้คัดเลือกให้บริษัท ไอซีทีสมาร์ท ทำการติดตั้งระบบ Time Attendance บันทึกเวลาเข้าออกงานด้วยลายนิ้วมือ Fingerprint โดยเลือกใช้สินค้ายี่ห้อ ICT รุ่น BS-100 จำนวน 160 สาขา ทั่วประเทศ





ICT SMART สามารถนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการขององค์กรซึ่งมีสาขากระจายอยู่ตามที่ต่างๆ โดยได้พัฒนาระบบเครื่องสแกนลายนิ้วมือ เพื่อบันทึกเวลาเข้าออกงานให้กับ ร้านค้าสะดวกซื้อ Jiffy เหตุผลที่ทางบริษัท ไอซีทีสมาร์ท จำกัด ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสแกนลายนิ้วมือให้กับ Jiffy ก็เนื่องมาจากความน่าเชื่อถือขององค์กร โดยดูจากผลงานที่ผ่านมา และการรับรองจากลูกค้าซึ่งใช้บริการของบริษัท ไอซีทีสมาร์ท จำกัด

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเป็นรายเดียวที่สามารถเสนอ Solution ที่ดีทีสุดในการบริหารจัดการเครื่องสแกน ซึ่งมีจำนวนมากๆ ระดับ 100 เครื่องขึ้นไป โดยข้อมูลการบันทึกเวลาและข้อมูลลายนิ้วมือจะถูกส่งเข้าสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพแบบ Realtime โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า  Push Technology ซึ่้งสามารถแก้ปัญหาการดึงข้อมูลจากระบบเดิมซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 8 ชั่งโมงในการรวบรวมข้อมูลในแต่ละวัน ให้เหลือเพียงไม่เกิน 10 นาทีจาก 160 สาขาทั่วประเทศ

    
ประโยชน์ของระบบ
Time Attendance
1.บันทึกเวลาเข้าออกงานด้วยลายนิ้วมือ Fingerprint
           2.สามารถการรวบรวมข้อมูลในแต่ละวัน ให้เหลือเพียงไม่เกิน 10 นาที
           3.สามารถแก้ปัญหาการดึงข้อมูลจากระบบเดิมซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 8 ชั่งโมง



ความคิดเห็นที่มีต่อระบบ ICT ในยุคปัจจุบัน ปัจจุบัน ICT เข้ามาเป็นปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์โลก  มีความสำคัญระดับประเทศ และระดับโลก ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง การสื่อสาร การศึกษา และวัฒนธรรม และในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอน การค้าขายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ ล้วนผ่านระบบ ICT ทั้งนั้น  เพื่อปรับพื้นฐานคุณภาพชีวิต  เพื่อเข้าสู่สังคมแห่งเทคโนโลยีและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์  เราจึงต้องรู้และเข้าใจในระบบ ICT ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพของประเทศให้พัฒนายิ่งๆขึ้นไป

แหล่งอ้างอิง
:
       3.http://th.wikibooks.org/wiki/
       4.http://www.ictsmart.com/